ถ้าจะพูดถึงอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงในยุคโควิด-19 หรือแม้กระทั่งก่อนหน้านี้ ก็ต้องยกให้ธุรกิจ “ขายอาหารออนไลน์” เพราะไม่ต้องลงทุนเยอะหรือไม่ต้องมีหน้าร้านก็เปิดได้ แต่ในเมื่อทุกคนเปิดได้ ก็ใช่ว่าจะไปได้สวยทุกราย
เราจึงจะพาทุกคนมาดู 10 เทคนิคขายอาหารออนไลน์ให้ยอดปังถล่มทลาย ที่สำคัญจะยุคไหนก็ขายได้แน่นอน! ไม่ว่าจะขายอาหารเป็นหลักอยู่แล้วหรือเป็นมือใหม่ เราการันตีได้ว่าได้เคล็ดลับดี ๆ แน่!
ดาวน์โหลดแอป Zaapi ไว้เปิดร้านขายของกินออนไลน์ ฟรี!
1. เลือกว่าจะขายอะไรและขายให้ใคร
ข้อนี้อาจจะยากที่สุด เพราะวงการอาหารถือว่ากว้างมาก แต่ถ้าจะให้ไปได้สวย แนะนำให้เลือกขายอาหารจากเมนูที่ชอบแล้วก็ค่อย ๆ ขยายไปเมนูอื่น ๆ แล้วก็ต้องกำหนดด้วยว่าจะขายให้ใคร ขายให้ลูกค้ากลุ่มไหน ยิ่งรู้กลุ่มเป้าหมายดีเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสตีตลาดมากเท่านั้น
หรือถ้าไม่แน่ใจก็ลองศึกษาตลาดและดูคีย์เวิร์ด เพื่อดูเทรนด์อาหารมาแรงและเป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มที่อินกระแสมาก ๆ ในช่วงนี้และคาดว่าจะเป็นที่นิยมต่อไปในอนาคตก็เป็นแนวเพื่อสุขภาพ เช่น
- เค้กไร้แป้ง
- อาหารออร์กานิค
- อาหารกลูเตนฟรี
- ฯลฯ
ซึ่งถ้าจะขายอาหารออนไลน์ ควรเริ่มจากอาหารที่ไม่ต้องลงทุนเยอะ เช่น คุ้กกี้, ขนมปัง, สมุนไพรแห้ง และอาหารกระป๋อง เป็นต้น ให้ค่อย ๆ ทำและสนุกไปกับร้านอาหารออนไลน์ของคุณ เมื่อมีความสุขในสิ่งที่ทำ และรู้ว่าจะขายอะไรและขายให้ใครแล้ว ยังไงก็ไปได้สวยแน่
2. ศึกษาเรื่องกฎหมาย
ทุกธุรกิจจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งถ้าจะเปิดร้านอาหารแบบมีหน้าร้านด้วยจะต้องจดทะเบียนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้า บอกให้รู้ว่าร้านของคุณมีตัวตน เปิดอย่างถูกต้องและเปิดเผย โดยสามารถจดทะเบียนได้ 2 แบบคือ
- บุคคลธรรมดา สำหรับเจ้าของร้านอาหารที่ทำคนเดียว
- นิติบุคคล สำหรับร้านที่มีหุ้นส่วนและใช้เงินลงทุนสูง
แล้วถ้าขายออนไลน์ก็ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย ไม่อย่างนั้นจะโดนปรับ 2,000 บาท พร้อมกับวันละ 100 บาทไปเรื่อย ๆ พอโดนอีกทีอาจจะเยอะจนจ่ายไม่ไหวก็ได้ เพราะฉะนั้นควรศึกษากฎหมายในการเปิดร้านอาหารให้ละเอียดและการจดทะเบียนให้เรียบร้อย
3. ตั้งราคาขาย
ในการกำหนดราคาขายอาหารออนไลน์ ก็คล้าย ๆ กับการตั้งราคาสินค้า ซึ่งในการตั้งราคาขายอาหารให้เหมาะกับแต่ละเมนู จะต้องคำนวณจากต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต รวมไปถึงค่าขนส่งหรือเดลิเวอรี่ โดยข้อดีข้องการมีหน้าร้านออนไลน์ก็คือ ไม่ต้องลงทุนเยอะ ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายของพนักงาน สถานที่ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
อย่างไรก็ตาม เมื่อขายอาหารออนไลน์จะมีค่าใช้จ่ายในการใช้แพลตฟอร์มเพิ่มเข้ามาด้วย แต่ก็ถือว่าถูกกว่าค่าเช่าร้านมาก ยังไงสามารถดูการคำนวณการตั้งราคาขายได้ที่นี่ หรือถ้าอยากประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปอีก ก็ควรมีเว็บขายเป็นของตัวเองเพื่อให้ขายได้ฟรี อย่าง Zaapi ก็เปิดร้านขายอาหารออนไลน์ให้ฟรี ทั้งยังให้ผู้ประกอบการเช่นคุณตั้งราคาเดลิเวอรี่และขายอาหารได้ตามความเหมาะสมด้วย
ดาวน์โหลดแอป Zaapi ไว้เปิดร้าอาหารออนไลน์ ไม่เสียค่า GP
4. หาซัพพลายเออร์
ไม่ว่าจะทำอาหารเองหรือรับมาขายก็ต้องมีซัพพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือ เพราะการมีซัพพลายเออร์ที่ใช่และวางใจได้มากสำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ถ้าเลือกผิดก็อาจจะส่งผลเสียต่อร้านหรือเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น วัตถุดิบเน่าเสีย ลูกค้าเกิดอาหารเป็นพิษหรือท้องเสีย เป็นต้น เพราะฉะนั้นควรศึกษาและเลือกซัพพลายเออร์ให้เป็นเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้
ถ้าหาข้อมูลออนไลน์ไปแล้วเจอเจ้าที่น่าจะทำงานด้วยกันได้ในระยะยาว แต่ไม่แน่ใจว่าซัพพลายเออร์เจ้านั้นสามารถจัดหาวัตถุดิบเมนูออนไลน์ได้หรือไม่ ก็ลองทักแชทหรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมดู ถ้าเป็นซัพพลายเออร์มืออาชีพ ยังไงก็เต็มใจพร้อมให้ข้อมูลแน่นอน
5. เลือกแพ็คเกจจิ้ง
ภาพลักษณ์ของร้านหรือแบรนด์ถือว่าสำคัญมากสำหรับธุรกิจอาหารออนไลน์และอาหารเดลิเวอรี่ ดังนั้นคุณจึงใส่ใจทุกรายละเอียด โดยเฉพาะแพ็คเกจจิ้งหรือกล่องใส่อาหาร
ทางร้านต้องออกแบบและทำแบรนดิ้งกล่องใส่อาหารให้เข้าถึงง่ายและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ขาย เช่น ถ้าขายสินค้าออร์กานิค ก็ต้องเป็นสีและดีไซน์ที่สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ หรือถ้าขายขนมเค้ก กาแฟ และอาหารทั่วไปก็อาจจะเลือกกล่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายง่าย เป็นต้น
6. มีตัวเลือกให้ลูกค้า
คุณจำเป็นต้องมีตัวเลือกและเมนูที่หลากหลาย เพราะในการสั่งอาหารออนไลน์ลูกค้าจะต้องเสียค่าส่ง ส่วนมากลูกค้าเลยมักจะเลือกร้านที่มีเมนูหลากหลายเพื่อให้คุ้มกับค่าส่ง ถ้าร้านมีเมนูน้อย ตัวเลือกไม่เยอะ ลูกค้าจะกลัวไม่คุ้ม
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องขายทุกเมนูที่มีบนโลกนี้ แต่อาจจะเลือกมาสัก 4-5 เมนูหรือเท่าที่ทำไหวไว้ก่อน ถ้ากระแสตอบรับดีค่อยหาทางขยายและหาผู้ช่วย
7. ถ่ายรูปอาหารให้น่ากิน
รูปคือหัวใจหลักของการขายอาหารออนไลน์ เพราะลูกค้ามักจะทานอาหารผ่านสายตา หากรูปของแต่ละเมนูไม่น่าทาน ลูกค้าก็จะปิดหน้าร้านออนไลน์และเดลิเวอรี่ของคุณไปเลย ดังนั้นทุกเมนูควรมีรูปภาพประกอบและดูดีจนลูกค้าน้ำลายสอ ซึ่งหลัก ๆ แล้วเทคนิคถ่ายรูปอาหารให้น่ากินเบื้องต้นก็มีหลายเทคนิคด้วยกัน เช่น
- ถ่ายแบบ Flat Lay เพื่อให้เห็นองค์ประกอบของอาหาร
- เพิ่มความเคลื่อนไหว เช่น หั่นหรือราด อาหารจะได้ดูน่ากินยิ่งขึ้น
- แบ่งสัดส่วนภาพ หาความสมดุลของภาพ ภาพอาหารหรือเครื่องดื่มจะได้ดูโดดเด่นขึ้นมา
- ถ่ายมุมใกล้ เพราะเป็นมุมที่ยั่วน้ำลายได้ดีที่สุด ยิ่งถ้าสีอาหารกับตัวพื้นหลังตัดกันแล้วล่ะก็ ภาพจะยิ่งสวยมาก ๆ
หรือถ้าถ่ายรูปอาหารกับเครื่องดื่มแล้วยังรู้สึกว่าไม่ใช่ภาพที่ต้องการ ก็ลองใช้แอปแต่งรูปดู แล้วอาหารจะสวยน่ากินขึ้นเยอะเลยล่ะ
เปิดร้านขายอาหารออนไลน์ กับ Zaapi
8. มีช่องทางการจ่ายเงินที่หลากหลาย
การมีช่องทางจ่ายเงินที่หลากหลายจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กลุ่มลูกค้าของคุณได้ดียิ่งขึ้น เพราะบางคนอาจจะชอบจ่ายด้วยเงินสดหรือบริการเก็บเงินปลายทาง แต่บางคนก็อาจจะชอบจ่ายด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือ E-wallet
อย่างไรก็ตาม ในยุคที่ยังมีโควิด-19 ระบายแบบนี้ ขอแนะนำให้ร้านรณรงค์การจ่ายเงินด้วยบัตรหรื E-wallet เพื่อความปลอดภัย ทั้งลูกค้าและร้านจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับเชื้อโรค ถือเป็นการสร้างความมั่นใจและมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้าไปในตัว
9. โปรโมทร้าน
เมื่อมีร้านขายอาหารออนไลน์แล้ว ก็ถึงเวลาโปรโมทเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ โดยช่องทางในการโปรโมทร้านอาหารในปัจจุบันก็ถือว่ามีหลายแพลตฟอร์มมาก เช่น
- Facebook - โปรโมทผ่านเพจร้าน กลุ่มเฟสบุ๊ค และยิงแอด
- ไอจี - หน้าฟีด สตอรี่ และแฮชแท็ก
- LINE - บรอดแคสต์ผ่าน LINE OA ของร้าน ไทม์ไลน์ และโฆษณา Gain Friend Ads
- Google My Business - กรอกข้อมูลร้านให้ครบ มีลิงก์สั่งซื้ออาหารออนไลน์ชัดเจน และโพสต์รูปอาหารใหม่ ๆ เป็นประจำ
10. ฟังเสียงลูกค้า
ร้านอาหารของไลน์ของคุณจะไปต่อได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้า เพราะฉะนั้นควรเปิดใจรับฟังคำติชมของลูกค้าเพื่อจะได้ปรับปรุงเมนูอาหารและบริการให้ดียิ่งขึ้น ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอรับรองว่าลูกค้าเก่าไม่หาย แถมได้ลูกค้าใหม่เข้ามาเรื่อย ๆ แน่นอน
และเพื่อให้ลูกค้าประทับใจยิ่งขึ้น ทางร้านควรหมั่นสอบถามฟีดแบ็คจากลูกค้าเองด้วย ถ้าลูกค้าถูกใจอาหารของร้านและแท็กร้าน ก็ขออนุญาตลูกค้าแล้วแชร์บนร้าน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและการันตีความเด็ดของเมนูร้าน แต่ถ้ามีลูกค้าไม่พอใจ ก็ขอโทษและแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงใจ แล้วลูกค้าจะเห็นในความเป็นมืออาชีพของร้านและให้โอกาสอุดหนุนในครั้งต่อไป
ถึงเวลาขายอาหารออนไลน์ให้ปังแล้ว!
อย่าลืมว่าปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารทั้งออนไลน์และออฟไลน์มีคู่แข่งกันเยอะมาก หากร้านไม่ใส่ใจหรือละเลยแม้แต่ขั้นตอนเดียวก็สามารถส่งผลเสียในระยะยาวได้ เพราะฉะนั้นลองนำทั้ง 10 เทคนิคนี้ไปปรับใช้ดู รับรองว่าธุรกิจร้านอาหารออนไลน์ของคุณจะขายดีและกำไรงามในทุกยุค
ทั้งนี้หากต้องการมีร้านขายอาหารออนไลน์ที่คุณสามารถดีไซน์ร้านและตั้งราคาอาหารหรือค่าเดลิเวอรี่ได้เองอย่างสมเหตุสมผล ลองเปิดร้านอาหารออนไลน์ฟรีกับ Zaapi บอกเลยงานนี้ ฟรี!
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub