อาหารคลีน หรือ อาหารเพื่อสุขภาพ กลายเป็นเทรนด์ที่มาแรงต่อเนื่องหลายปี เนื่องจากผู้คนหันมารักสุขภาพและให้ความสำคัญกับอาหารการกินมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายให้ได้มากที่สุด
ดังนั้นเมื่อเกิดความต้องการในตลาดแบบนี้แล้ว ก็มีหลายคนผุดไอเดียขายอาหารคลีนและเปิดร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น และหากคุณคือหนึ่งในนั้น ในบทความนี้เราจะพามาดู 8 เทคนิคขายอาหารคลีนสำหรับมือใหม่ ที่จะช่วยให้คุณทำธุรกิจสุดอินเทรนด์ของปี 2024 นี้ได้ง่ายขึ้น
เปิดร้านขายอาหารคลีนที่ Zaapi คลิก!
อาหารคลีน คืออะไร?
อาหารคลีน หรือ Clean Food คือ อาหารที่มีการปรุงแต่งน้อย ลดการแต่งสี ไม่มีวัตถุกันเสีย และปราศจากการปรุงแต่ง โดยเน้นวัตถุดิบและส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ และผ่านการปรุงรสให้น้อยที่สุด โดยมักจะใช้วัตถุดิบอย่างเนื้อสัตว์ไม่แปรรูป, ผักผลไม้สด, แป้งไม่ขัดสี, เกลือ, พริกไทย และไขมันดี อย่างน้ำมันมะกอกและอะโวคาโด ถือเป็นอาหารที่จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
ทำไมต้องขายอาหารคลีน?
นอกจากอาหารคลีนจะเป็นกระแสที่มาแรงแล้ว ยังมีเหตุผลอีกหลายข้อที่จะทำให้คุณตัดสินใจเลือกทำกิจการนี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ได้แก่
- เพิ่มสินค้าใหม่ ๆ ในท้องตลาด และเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ
- มีสินค้าที่แตกต่างจากร้านอื่น ช่วยให้ร้านดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น
- มีกำไรค่อนข้างเยอะ นี่คือเหตุผลหลัก ๆ ที่น่าขายอาหารคลีนสุด ๆ
- ช่วยสร้างชุมชนสุขภาพดี เมื่อคนในชุมชนใส่ใจสุขภาพและมีสินค้าที่ตอบโจทย์แล้ว คนในชุมชนของคุณก็จะสุขภาพดีกันถ้วนหน้าและปลอดโรค
- เป็นส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการใหม่ ๆ เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและทำกำไรไปกับอาหารเพื่อสุขภาพ
วิธีขายอาหารคลีนให้ปังในปี 2024
ทำความรู้จักอาหารคลีนและข้อดีของการทำธุรกิจอาหารคลีนเพื่อสุขภาพกันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าจะต้องเริ่มต้นเปิดร้านขายอาหารคลีนยังไงถึงจะประสบความสำเร็จและมัดใจลูกค้าไว้ได้อย่างเหนียวแน่นในปี 2024 นี้
1. เริ่มต้นจากการวางแผน
ธุรกิจการขายอาหารคลีนก็เหมือนกับธุรกิจอื่น ๆ ที่จะต้องมีการวางแผนให้ดีเพื่อให้กิจการของคุณมีชัยไปกว่าครึ่ง ดังนั้นถ้าอยากเปิดร้านขายอาหารคลีนเล็ก ๆ หรือว่าขายอาหารคลีนออนไลน์ก็เริ่มวางแผนเลยตอนนี้ ซึ่งหัวข้อหลัก ๆ ที่ต้องพิจารณาในการวางแผนก็คือ
- ต้นทุนในการเริ่มต้นขายอาหารคลีน
- ค่าใช้จ่ายหรือเงินหมุนเวียนรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่คุณจะขายอาหารของร้านให้
- ราคาอาหารคลีนแต่ละเมนู
- ชื่อร้าน
2. เลือกรูปแบบองค์กรธุรกิจ
ปกติแล้ว การทำธุรกิจร้านอาหารหรือธุรกิจประเภทต่าง ๆ ผู้เปิดร้านหรือเจ้าของร้านสามารถเลือกรูปแบบองค์กรธุรกิจได้หลายรูปแบบ ซึ่งหลัก ๆ แล้ว จะมี 7 ประเภทด้วยกันคือ
- กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) คือธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มีบุคคลคนเดียวลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการแต่เพียงผู้เดียว จะจดทะเบียนหรือไม่จดก็ได้
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เป็นกิจการที่มีเจ้าของตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยบุคคลดังกล่าวมีการตกลงทำกิจการร่วมกัน แบ่งกำไรที่ได้จากกิจการด้วยกัน และรับผิดชอบหนี้สินของกิจการร่วมกันโดยไม่มีจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (Juristic Ordinary Partnership) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) มี 2 ประเภทคือ
- Limited Partner ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ที่รับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น
- General Partner ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ที่รับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
- บริษัทจำกัด (Limited Company) ตั้งโดยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายยังไม่ครบตามมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปและจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
- บริษัทจำกัดมหาชน (Public Limited Company) บริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อเสนอขายประชาชนคนทั่วไป ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระและต้องมีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15 คน
- องค์กรธุรกิจไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายเฉพาะ มีสมาคมการค้าและหอการค้า ซึ่งข้อแตกต่างคือ
- สมาคมการค้า จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ ไม่หาผลกำไรหรือหากำไรแบ่งปันกัน และมีคณะกรรมการดำเนินกิจการ
- หอการค้า จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าต่าง ๆ รวมทั้งการบริการ การประกอบวิชาชีพอิสระ อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยไม่ได้หาผลกำไรหรือหารายได้แบ่งกัน
เลือกรูปแบบได้แล้ว มาเปิดร้านที่ Zaapi ตอนนี้เลย!
3. จัดการการเงินให้เรียบร้อย
ใช่ว่าทุกคนที่อยากเปิดร้านอาหารจะมีงบเพียงพอเสมอไป เพราะฉะนั้นคุณจำเป็นต้องวางแผนให้รอบด้านว่าคุณจะต้องมีเงินลงทุนเท่าไหร่ และถ้ามีเงินไม่พอ สามารถหาทางออกที่ไหนได้บ้าง ซึ่งโดยทั่วไป เจ้าของร้านอาหารมือใหม่ก็มักจะขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินดังนี้ :-
- กู้ธนาคาร
- ยืมเพื่อนหรือญาตพี่น้อง
- หาผู้ลงทุนให้
- หาพาร์ทเนอร์
- ระดมทุน
- เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
ทั้งนี้ควรพึงตระหนักอยู่เสมอว่า ในช่วงแรก ๆ ที่ขายอาหารคลีน คุณอาจจะไม่ได้เห็นกำไรทันที ดังนั้นให้ใจเย็นและเริ่มจากร้านเล็ก ๆ ก่อนเสมอ
4. เลือกทำเลร้าน
ขั้นตอนการเลือกทำเลร้านถือว่าสำคัญและมองข้ามไม่ได้ เพราะแม้อาหารคลีนของคุณจะรสชาติดีแค่ไหน แต่ไม่อยู่ในที่ที่มีลูกค้า ร้านก็จะไม่เป็นที่สนใจและไม่โต ยกเว้นแค่ว่า คุณจะเน้นขายอาหารออนไลน์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อเลือกทำเลเปิดร้านจะต้องพิจารณาสิ่งไปนี้ควบคู่กันไปด้วย
- ค่าใช้จ่าย ดูว่าถ้าเลือกทำเลขายร้านแล้ว จะมีรายได้พอจ่ายค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หรือไม่
- การเข้าถึงได้ของลูกค้า ลูกค้าจะเดินทางมาที่ร้านของคุณได้ยังไง เดิน ขับรถ รถโดยสาร หรือรถไฟฟ้า เป็นต้น
- ข้อจำกัด แนะนำให้ศึกษาบริเวณโดยรอบให้ดีว่ามีข้อจำกัดอื่น ๆ หรือไม่ เช่น ข้อจำกัดในการใช้เสียง การจราจร และข้อจำกัดในการจัดส่งวัตถุดิบ เป็นต้น
- คู่แข่ง ร้านคู่แข่งและร้านอื่น ๆ อาจจะช่วยดึงลูกค้ามาที่ร้านคุณหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นให้ศึกษาคู่แข่งในย่านนั้นเพื่อดูว่าร้านคุณจะได้รับผลกระทบยังไงบ้าง
- วางแผนล่วงหน้า ลองมองไปไกล ๆ วิเคราะห์ดูว่าในอนาคตอีก 5 หรือ 10 ปีข้างหน้าทำเลในย่านนั้นจะเป็นยังไง
5. ออกแบบผังร้านอาหารคลีน
เมื่อเลือกทำเลเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาวางแปลนร้าน โต๊ะ ที่นั่ง และการตกแต่งต่าง ๆ ซึ่งปกติแล้ว ร้านอาหารจะจัดให้พื้นที่กว่า 45-60% ของร้านให้เป็นบริเวณทานอาหารหรือพื้นที่รับรองลูกค้า ส่วนอีก 35% ก็จะเป็นส่วนของห้องครัว พื้นที่จัดเก็บของและวัตถุดิบ และออฟฟิศหลังบ้าน
อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่สัดส่วนตายตัว คุณสามารถออกแบบร้านอาหารคลีนในฝันของคุณได้ตามใจชอบ แต่ต้องแน่ใจว่ามีทางเดินเพียงพอและง่ายต่อการเสิร์ฟอาหารและบริการลูกค้าด้วย โดยสามารถดูไอเดียตกแต่งร้านอาหารหรือผังร้านอาหารได้ง่าย ๆ ตาม Pinterest และแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เกี่ยวกับการออกแบบร้านอาหารทั่วไป
6. เลือกซัพพลายเออร์
นอกจากคุณจะต้องเลือกอุปกรณ์ในครัวและอุปกรณ์การทำอาหารต่าง ๆ แล้ว คุณจะต้องติดต่อพูดคุยกับซัพพลายเออร์หลายเจ้า ดังนั้นให้หาข้อมูลเยอะ ๆ แล้วดูว่าซัพพลายเออร์เจ้าไหนที่จะเป็นคู่ค้าระยะยาวหรือระยะสั้นบ้าง แล้วก็ต้องดูด้วยว่าเจ้าไหนราคาดีและคุณภาพสินค้าได้ตามที่ทางร้านของคุณต้องการ หากหาข้อมูลเองแล้วยังไม่เจอซัพพลายเออร์ที่ถูกใจ ก็สามารถสอบถามผู้รู้ที่มีประสบการณ์มาก่อนก็ได้
7. หาพนักงาน
คัดเลือกพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำร้านอาหาร หรือพนักงานที่เต็มใจเรียนรู้และมีใจรักบริการ พนักงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจะช่วยให้การจัดการร้านอาหารของคุณง่ายขึ้นและมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ก่อนจะตัดสินใจว่าจ้าพนักงาน ควรเช็คประวัติการทำงาน สัมภาษณ์ตัวต่อตัว และโทรสอบถามบุคคลอ้างอิงด้วย เพื่อจะได้มั่นใจว่าคุณจะได้พนักงานร้านอาหารคลีนที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุด
8. ขายออนไลน์
เมื่อตั้งหน้าร้านและจัดการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว อย่ามองข้ามช่องทางการขายอาหารออนไลน์และอาหารเดลิเวอรี่เป็นอันขาด เพราะนี่คือช่องทางยอดนิยมที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าและร้านอาหารคลีนของคุณได้เป็นอย่างดี
และถ้ากลัวว่าจะต้องเสียเงินค่าแพลตฟอร์มหรือค่าเว็บไซต์ขายอาหารคลีนออนไลน์ก็ต้องบอกว่าหมดกังวลได้เลย เพราะปัจจุบันมีเว็บไซต์สำเร็จรูปให้คุณขายอาหารคลีนออนไลน์ได้แบบฟรี ๆ !
หากำลังวางแผนขายอาหารออนไลน์อยู่ เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้คุณทำรายได้จากเทรนด์ธุรกิจมาแรงนี้แน่นอน และเมื่อมีร้านอาหารคลีนในฝันของคุณแล้ว ก็ต้องรู้ช่องทางโปรโมทร้านและวิธีการเข้าถึงลูกค้าด้วย ร้านจึงจะทำรายได้ได้ตามที่วางแผนไว้และเติบโตได้ง่ายขึ้น
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub