พูดถึง Social Commerce กันไปแล้วว่าคืออะไร ทำไมร้านที่ขายอออนไลน์ต้องให้ความสำคัญ และทำไมการขายในโซเชียลถึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในบทความนี้เรามาดูในเรื่องของข้อดี-ข้อเสียเกี่ยวกับ Social Commerce เพื่อให้เตรียมตัวรับมือและยกระดับการขายในโลกโซเชียลให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นในปี 2024 นี้ ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย!
7 ข้อดีของ Social Commerce
มาเริ่มกันที่ข้อดีกัน หากคุณขายออนไลน์ในเว็บปังแล้วและอยากขยายมายังโลกโซเชียล แต่ก็ไม่รู้ว่าจะจริงจังดีไหม หรือว่าต้องทุ่มเทแค่ไหน นี่คือ 7 ข้อดีของ Social Commerce ที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้น
1. เชื่อมต่อคนซื้อและคนขายโดยตรง
ถ้าคุณขายของในโซเชียลมีเดีย คุณจะติดต่อกับลูกค้าได้เองโดยตรง นั่นหมายความว่าร้านของคุณจะเชื่อมต่อกับลูกค้าได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่โพสต์ขายอย่างเดียว เพราะคุณสามารถรังสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อสารกับลูกค้าในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ขายของได้เลย โดยคอนเทนต์ที่ทำจะแสดงในหน้าฟีดของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เแฟนเพจ และผู้ติดตาม ให้ลูกค้าโต้ตอบในรูปแบบของไลค์ แชร์ คอมมเมนต์ หรือว่าแท็กเพื่อนในคอนเทนต์ได้เลย เป็นการสร้างแบรนด์และขยายตัวตนไปยังโซเชียลของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ทันที ถือเป็นการขับเคลื่อนธุรกิจไปยังฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ตัวบุคคล
2. ได้รีวิวที่น่าเชื่อถือ
คอมเมนต์ใต้โพสต์สินค้าคือรีวิวจริงจากลูกค้า ยิ่งเป็นรีวิวดี ๆ แล้วล่ะก็ ยิ่งเป็นรีวิวชั้นเยี่ยมที่จะสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้สินค้าคุณน่าใช้มากขึ้นเป็นเท่าตัว นั่นก็เพราะว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับฟีดแบ็คของลูกค้าด้วยกันเอง เนื่องจากเป็นผู้ใช้งานจริงนั่นเอง คอมเมนต์ดี ๆ ของลูกค้าจึงเป็นเหมือนพลังของโซเชียลที่ช่วยการันตีคุณภาพสินค้า เมื่อลูกค้าคนอื่น ๆ เห็นจึงมีแนวโน้มที่จะคลิกซื้อมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
3. ช่วยสร้างแบรนด์และโต้ตอบกับลูกค้าได้ดีขึ้น
ความเชื่อใจและความซื่อสัตย์เกิดขึ้นจากการสื่อสารของบุคคลและการแบ่งปันประสบการณ์กันและกัน Social Commerce จะช่วยสร้างแบรนด์ในโลกโซเชียลผ่านการโต้ตอบกับลูกค้า ทั้งยังแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าทางร้านอยู่ตรงนั้นเสมอเมื่อลูกค้าต้องการข้อมูลหรือความช่วยเหลือใด ๆ เกี่ยวกับการซื้อสินค้าหรือดูแลหลังการขาย
4. เข้าถึงลูกค้ากลุ่ม Mobile Shopper
Mobile Shopper คือกลุ่มคนที่ช้อปสินค้าออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต และกลุ่มลูกค้าในโซเซียลส่วนใหญ่ก็มักจะมักใช้งานสมารท์ทโฟนโดยเฉพาะลูกค้ากลุ่ม Gen Z ดังนั้นเมื่อคุณขายสินค้าในโลกโซเชียลหรือ Social Commerce คุณจะเข้าถึงลูกค้ากลุ่ม Mobile Shopper กลุ่มนี้ได้มากยิ่งขึ้นและเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้นไปอีก
5. ได้ Traffic จากกลุ่มลูกค้าจริง
Traffic คือ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้าขายออนไลน์และ Social Commerce โดยตรง ซึ่งอย่างที่ได้พูดไป โซเชียลมีเดียคือช่องทางชั้นเยี่ยมที่จะให้คุณพูดคุยกับลูกค้าได้โดยตรง แถมยังช่วยให้คุณสานต่อบทสนทนากับลูกค้าได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ถ้าคุณหมั่นอัพเดตสินค้าและคอนเทนต์นเพจแล้ว คุณจะยิ่งเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น เมื่อสร้างคอนเทนต์และโปรโมทสินค้าได้ตรงใจกลุ่มลูกค้า คุณก็จะยิ่งได้ Traffic และยอดขายจากกลุ่มลูกค้าจริงด้วย
6. ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีกว่า
ในแง่ของลูกค้าแล้ว Social Commerce จะให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ดีกว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียที่ลูกค้าใช้งานอยู่แล้ว สามารถช้อปสินค้าได้จากหน้าฟีดเลยทันที ถือว่าสะดวกสบายมาก ๆ และก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า ลูกค้าก็จะได้เพลิดเพลินกับคอนเทนต์ของทางร้าน เมื่อมีคำถามก็สามารถทักแชทถามได้เลย Social Commerce จึงมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าและสะดวกกว่าให้กับลูกค้าได้อย่างไร้ข้อกังขา
7. สร้างความสัมพันธ์ดี ๆ ระหว่างร้านกับลูกค้า
เมื่อลูกค้ากับร้านได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้โดยตรงและลูกค้าได้ประสบการณ์ดี ๆ แล้ว ทั้งร้านและลูกค้าก็จะมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อทางร้านพูดคุยอย่างจริงใจและให้เกียรติลูกค้าแล้ว ลูกค้าก็จะรับรู้ได้ว่าร้านรับฟังปัญหาและพร้อมช่วยเหลือ วิธีนี้จะช่วยสร้างความภักดีของลูกค้า ให้มีแนวโน้มที่จะกลับมาอุดหนุนร้านในครั้งต่อไปด้วย
5 ข้อเสียของ Social Commerce
ทุกอย่างย่อมมีข้อดีและข้อเสีย ซึ่ง Social Commerce ก็เช่นกัน ดังนั้นในส่วนนี้เราจึงมีข้อเสียของ Social Commerce มาให้วิเคราะห์เพื่อเตรียมรับมือกับอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งข้อเสียที่ว่านี้ก็มี 5 ข้อด้วยกันคือ
1. คู่แข่งอ่านกลยุทธ์ได้ง่าย
สำหรับ Social Commerce แล้ว ทุกโพสต์ที่คุณโพสต์ออกไปและทุกอย่างในโลกออนไลน์ใคร ๆ ก็มองเห็นได้ทั้งนั้น ซึ่งหมายความว่าคู่แข่งของคุณก็สามารถเห็นโพสต์ แนวทางการทำคอนเทนต์ และกลยุทธ์ในการทำตลาดของคุณด้วย คู่แข่งจะเห็นได้เลยว่าร้านคุณกำลังปล่อยแคมเปญการตลาดหรือโพสต์อะไรบ้าง เช่น คู่แข่งสามารถเข้าไปดูที่เพจเฟสบุ๊คของร้านคุณได้เลยว่า ตอนนี้ร้านยิงแอดอะไรอยู่บ้าง ซึ่งบางทีก็อาจจะเป็นไอเดียการตลาดให้คู่แข่งได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นคุณอาจจะเสี่ยงต่อการโดนคู่แข่งเอาชนะได้ง่าย
2. ค่อนข้างเสี่ยง
โซเชียลมีเดียก็เหมือนดาบสองคมเพราะสามารถสร้างและทำลายแบรนด์ของคุณได้ ยิ่งผู้คนในยุคปัจจุบันอ่อนไหวง่ายแบบนี้แล้วล่ะก็ โอกาสที่จะตีความโพสต์หรือรีวิวสินค้าไปต่าง ๆ นานาได้ง่าย เช่น บางโพสต์ของคุณอาจจะโดนตีความได้หลายแง่ คุณอาจจะไม่ได้คิดอะไร แต่กลุ่มผู้ติดตามบางกลุ่มอาจจะมองว่าโพสต์ของคุณไม่เหมาะสมก็เป็นได้ ซึ่งก็มีหลายร้านเจอปัญหานี้และก็ส่งผลกระทบต่อยอดขายร้านเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณต้องมั่นใจว่าเมจเสจที่ต้องการสื่อสารในแต่โพสต์ชัดเจนและโปร่งใส
3. ค่อนข้างใช้เวลา
ทางร้านจำเป็นต้องใช้ความพยายามและเวลาค่อนข้างมากเพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า อีกทั้งต้องสร้างคอนเทนต์ วางแผนกลยุทธ์การขายใน Social Commerce เพราะแค่โพสต์ขายเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ โพสต์ของคุณอาจไม่ได้รับความสนใจด้วยซ้ำ ดังนั้นร้านจึงจำเป็นต้องใช้เวลาตอบคอมเมนต์ ตอบแชท และวางแผนอย่างดีเพื่อจะได้สร้างแบรนด์ให้ติดตลาดได้ การทำ Social Commerce จึงเป็นอะไรที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก ลองคิดดูว่าหากคุณเป็นลูกค้าที่คอมเมนต์ใต้โพสต์แล้วแบรนด์ไม่สนใจและไม่ตอบกลับคุณ คุณจะรู้สึกแย่แค่ไหน เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องบใช้เวลาในส่วนนี้ค่อนข้างมาก
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
4. เข้าถึงกลุ่มคนแบบออร์กานิกได้น้อย
สำหรับข้อจำกัดของ Social Commerce อีกหนึ่งอย่างก็คือ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าแบบออร์กานิกได้น้อย ถ้าไม่ยิงแอดโอกาสที่ผู้ติดตามหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะมองเห็นโพสต์ก็แทบจะไม่มี เพราะฉะนั้นหลายร้านจึงยิงแอดโฆษณาเพื่อเพิ่มการมองเห็น และหากคุณทำ Social Commerce ก็ต้องมีงบยิงแอดเพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและเพิ่มยอดขายร้านเช่นกัน เพราะหากหวังพึ่งแค่ออร์กานิก ยอดขายก็อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าแน่ ๆ ดังนั้นคุณจึงมีกลยุทธ์ทั้งสำหรับการขายแบบออร์กานิกและแบบจ่ายเงินนั่นเอง
5. มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
จริงอยู่ที่ว่า Social Commerce ช่วยให้ร้านมียอดขายและจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Traffic) แต่ทุก ๆ อย่างก็มีการแข่งขันสูงเช่นกัน เมื่อขายในโซเชียลมีเดียแล้ว คุณไม่เพียงแต่แข่งขันกับร้านค้าหรือแบรนด์เท่านั้น แต่ยังแข่งขันกับกลุ่มเพื่อนหรือสังคมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอีกด้วย ฟีดของแต่ละคนจะเต็มไปด้วยโพสต์จากร้านค้าและเพจที่พวกเขาติดตามมากมายเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นคุณจะต้องมีโพสต์ที่โดดเด่นและเรียกความสนใจของลูกค้าได้เร็ว ไม่อย่างนั้นก็อาจจะแพ้ให้กับคู่แข่งได้ง่าย
ทั้งข้อดีข้อเสียของ Social Commerce ที่เรานำมาฝากนั้นจะช่วยให้คุณได้เปรียบคู่แข่งมากขึ้น เพราะคุณจะรู้วิธียกระดับการขายของในโซเชียลและเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน หวังว่าคุณจะได้ไอเดียดี ๆ ไปปรับใช้กับกลยุทธ์การทำ Social Commerce ของคุณกัน แล้วคุณจะขายของออนไลน์ในโซเชียลปังยิ่งขึ้นในปี 2023 นี้!
อ่านเพิ่มเกี่ยวกับเทคนิค Social Commerce
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub