รู้ไหมว่าคุณสามารถสร้างเว็บฟรีได้ง่าย ๆ ด้วย Google Sites โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะการทำเว็บหรือเขียนโปรแกรมมาก่อน สามารถจับลากวางได้เลย ดังนั้นคนทำเว็บไซต์มือใหม่หรือแม้กระทั่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เองก็เริ่มมาสร้างเว็บไซต์ฟรีด้วยโปรแกรมนี้ และถ้าคุณกำลังหาที่เรียนทำเว็บฟรีอยู่ล่ะก็ ในบทความนี้เราจะพามาดูวิธีสร้างเว็บฟรีด้วย Google Sites ให้สร้างเว็บไซต์ธุรกิจขนาดเล็กของคุณเองได้และขายของง่ายในไม่กี่ขั้นตอน
ใช้ระบบรวมแชทของ Zaapi ได้เว็บฟรีด้วย ดาวน์โหลดเลย!
Google Sites คืออะไร?
Google Sites คือ โปรแกรมสร้างเว็บไซต์ฟรีหรือเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ให้บริการโดย Google ที่ช่วยให้ทุกคนมีเว็บเป็นของตัวเองได้อย่างง่ายดาย มีฟีเจอร์ให้ออกแบบและตกแต่งเว็บไซต์ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาแนวไหนก็สามารถอัพโหลดและตีพิมพ์ในเว็บไซต์ได้ เพราะ Google Sites รองรับเนื้อหาได้ครบทุกประเภททั้งข้อความ, รูปภาพ, วิดีโอ, ปฏิทิน และเอกสารอื่น ๆ จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่หัดทำเว็บ ทั้งยังเหมาะสำหรับผู้ใช้งานทุกกลุ่ม
ข้อดีข้อเสียของการสร้างเว็บไซต์ฟรีด้วย Google Sites
แน่นอนว่าการสร้างเว็บฟรีกับ Google ก็ไม่ได้เพอร์เฟ็กต์เสมอไป แต่ก็ไม่ได้แย่จนถึงขั้นใช้งานไม่ได้ ซึ่งในส่วนข้อดีข้อเสียก็จะมีดังนี้ :-
ข้อดี
- ลงชื่อใช้งานผ่านบัญชี Gmail ได้เลย
- ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
- มีพื้นที่จัดเก็บให้ฟรี 10 GB สำหรับพื้นที่เว็บไซต์ไม่เกิน 100MB
- มีฟีเจอร์และแกดเจ็ตแบบจัดเต็มให้ปรับแต่งเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ
ข้อเสีย
- ชื่อโดเมนค่อนข้างยาวเพราะเป็นเว็บไซต์ที่อยู่ภายใต้ Google
- ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ CSS ที่ออกแบบเองได้
- ใช้งานร่วมกับ Script อื่น ๆ ได้ไม่ค่อยราบรื่น ยังพบปัญหาการใช้งานอยู่
- ใช้งานออฟไลน์ไม่ได้ ใช้งานได้เฉพาะตอนที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเท่านั้น
วิธีสร้างเว็บฟรี Google Sites
สำหรับวิธีการสร้างเว็บฟรี Google Sites ทำไม่ยุ่งยาก คุณจึงสร้างเว็บไซต์และขายของออนไลน์ได้ในไม่กี่ขั้นตอน เพียงทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ :-
- ไปที่ Google Sites แล้วลงชื่อเข้าใช้งานด้วย Gmail (หากยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งานก็สมัครเข้าใช้งานได้เลย)
- กรอกอีเมลและรหัสผ่าน และคลิกที่ “ลงชื่อเข้าใช้งาน” เพื่อเริ่มต้น
- คลิกปุ่ม “สร้าง” เพื่อเริ่มทำเว็บไซต์ฟรีของคุณ
- เลือกเทมเพลตเว็บไซต์โดยสามารถเลือกชมเทมเพลตอื่น ๆ ในแกลอรี่ แค่คลิกที่ “เลือกดูเพิ่มเติมในแกลเลอรี่” จากนั้นก็จะมีเทมเพลตให้เลือกมากมาย
- เสร็จแล้วก็สามารถตั้งชื่อเว็บไซต์ ในส่วนของตำแหน่งไซต์ ทาง Google Sites จะตั้งให้โดยอัตโนมัติ
- เลือกธีมของเว็บไซต์ ซึ่งหากต้องการเปลี่ยนหรือปรับแต่งก็สามารถทำได้ในภายหลัง
- ไปที่ตัวเลือกเพิ่มเติมเพื่อใส่คำอธิบายเว็บไซต์ โดยในตัวเลือกเพิ่มเติมจะสามารถเลือกได้ว่าเนื้อหาในเว็บไซต์เหมาะสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
- คลิก “สร้าง” หลังสร้างเสร็จแล้วจะสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ได้ตามต้องการ
- เลือกหรือปรับเปลี่ยนธีมเพื่อดีไซน์ให้สวยงามเป็นรูปแบบเว็บไซต์ที่คุณต้องการ
- เมื่อเลือกธีมแล้วก็คลิก “ดูตัวเองอย่าง” แล้วกด “บันทึก”
- หากต้องการแก้ไขหน้าเว็บเพจ ให้ไปที่แถบเมนูและฟังก์ชั่นเพื่อเพิ่มคอนเทนต์และลูกเล่นให้กับเว็บไซต์ของคุณ
- คลิก “แทรก” เพื่อใส่มีเดียและดีไซน์เว็บไซต์ให้สวยงาม โดยแทรกได้ตั้งแต่รูปภาพ, ลิงก์, วิดีโอ ฯลฯ (แนะนำให้ใส่รูปหรือวิดีโอสินค้าที่สวยงามคมชัดไว้ก่อน)
- จัดรูปแบบตัวอักษรได้ที่ “รูปแบบ” เสร็จแล้วก็บันทึก เท่านี้ก็ได้เว็บไซต์ของคุณแล้ว
ได้เว็บไซต์ฟรีไปใช้ง่าย ๆ แค่ลองใช้ระบบรวมแชทของ Zaapi คลิก
หลังสร้างเว็บฟรีแล้วต้องทำยังไงให้ขายดี?
เมื่อสร้างเว็บฟรีด้วย Google Sites ไปแล้ว คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนการเปลี่ยนเว็บไซต์ของคุณให้เป็นแหล่งรายได้และสร้างยอดขายกันแล้ว ซึ่งหากอยากให้ร้านออนไลน์ที่สร้างจากเว็บฟรีของคุณขายดิบขายดีก็ต้องเริ่มต้นให้ถูก โดยเทคนิคขายดีออนไลน์ที่เราอยากแนะนำคร่าว ๆ ก็คือ
1. เริ่มตั้งแต่การปรับแต่งชื่อร้าน
การตั้งชื่อร้านออนไลน์คือส่วนสำคัญมาก ๆ โดยคุณจะต้องตั้งชื่อร้านให้อ่านง่าย จำง่าย คุ้นหู และหาเจอง่าย โดยหลักการที่จะทำให้ลูกค้าค้นเจอร้านคุณได้ คุณจำเป็นจะต้องใช้คีย์เวิร์ดที่เป็นคำที่ลูกค้าค้นหา ร้านจะได้มีโอกาสปรากฏบนผลการค้นหาของลูกค้านั่นเอง
2. ขายด้วยรูปและวิดีโอสินค้า
ในการช้อปออนไลน์ ลูกค้าจะไม่สามารถสัมผัสสินค้าตัวจริงได้ แต่จะเห็นสินค้าผ่านรูปหรือวิดีโอเท่านั้น ดังนั้นคุณควรจัดแสงไฟและจัดองค์ประกอบภาพสินค้าให้ดี โดยภาพพื้นหลังจะต้องสะอาดตา สินค้าจะต้องเด่น แล้วก็ควรมีรูปหรือวิดีโอสินค้าครบทุกด้าน
3. มีแผนการตลาด
แผนการตลาดจะช่วยให้สินค้าของคุณดูน่าสนใจและน่าซื้อยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะมีสินค้าดีมีคุณภาพแล้ว คุณจะต้องโปรโมทและนำเสนอให้ร้านเป็นที่รู้จักเพื่อดึงดูดลูกค้ากับรายได้เข้าร้าน โดยแผนการตลาดที่ดีจะต้องระบุเป้าหมายชัดเจน มีขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย มีงบประมาณในการทำการตลาด และกำหนดเวลาในการลงมือทำและประเมินผล เพื่อดูว่าควรปรับแผนการตลาดต่อไปยังไงในอนาคต
4. โปรโมทสินค้าให้เป็น
รูปแบบการโปรโมทสินค้ามีทั้งแบบออร์แกนิกและแบบจ่ายเงิน ซึ่งแบบออร์แกนิกก็คือการโพสต์ในเฟสบุ๊ค, ไอจี ,Google, LINE, TikTok และหน้าเว็บไซต์ทั่วไป แต่แบบจ่ายเงินก็จะเป็นการทำโฆษณายิงแอดเพื่อโปรโมทสินค้าหรือร้านค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีเป้าหมายคือ เข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น เพื่อสร้างตัวตนและยอดขายให้กับร้านออนไลน์ ซึ่งคุณสามารถยิงแอดได้ครบทุกช่องทางออร์แกนิก
สำหรับตัวอย่างช่องทางโปรโมทสินค้าก็จะมีดังนี้ :-
- เพจเฟสบุ๊คร้าน
- กลุ่มเฟสบุ๊ค
- ไอจีร้าน
- LINE ร้าน
- TikTok ร้าน
- Google My Business
- หน้าเว็บ
หลังโปรโมทคุณสามารถวิเคราะห์ผลลัพธ์ของแต่ละแพลตฟอร์มได้เลย ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีเครื่องมือข้อมูลเชิงลึก (Insights) หลังบ้านที่ช่วยให้คุณดูได้ว่าวิธีโปรโมทแบบไหนได้ผลหรือไม่ได้ผล รวมถึงว่าวิธีไหนสร้าง Engagement หรือว่าวิธีไหนช่วยกระตุ้นยอดขาย เป็นต้น โดยกลุ่มลูกค้าและวิธีการโปรโมทที่ได้ผลของแต่ละแพลตฟอร์มก็อาจจะแตกต่างกันไป ดังนั้นควรนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาวิเคราะห์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์มด้วย
5. ฟังเสียงลูกค้า
ในการทำธุรกิจออนไลน์และธุรกิจทุกประเภท คุณจะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าที่ชี่นชอบสินค้าของคุณและลูกค้าที่มีปัญหาของคุณด้วย เพื่อจะได้รู้จุดแข็งและจุดอ่อนของสินค้า แล้วนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต เช่น เมื่อรู้จุดแข็ง คุณก็สามารถเปลี่ยนให้เป็นจุดขายได้ และเมื่อรู้จุดอ่อน คุณก็จะรู้ว่าตรงไหนยังไม่ตอบโจทย์ลูกค้า
นอกจากนี้เมื่อมีรีวิวดี ๆ จากลูกค้า คุณก็สามารถเปลี่ยนเป็นคอนเทนต์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านรวมถึงสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าไปในตัวได้ และถ้าหากมีรีวิวด้านลบ ก็ควรตอบรีวิวและแสดงความรับผิดชอบให้เร็วที่สุด ลูกค้าจะได้ไม่มีอคติกับร้านของคุณไปมากกว่าเดิมและลดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของร้านที่อาจจะบานปลายไปได้อีกในอนาคต
มีเว็บไซต์สำเร็จรูปเหมือน Google Sites แต่ดีกว่าไหม?
แน่นอนว่าในท้องตลาดปัจจุบันนั้นมีเว็บไซต์สำเร็จรูป โปรแกรมสร้างเว็บฟรี และแอพสร้างเว็บฟรีเต็มไปหมด ซึ่งสำหรับคนที่วางแผนบุกตลาดอีคอมเมิร์ซแล้ว มีทางเลือกเยอะมาก เช่น Wordpress, Weebly และ Zaapi เป็นต้น
ข้อดีของโปรแกรมเหล่านี้คือมีเป็นแอพพลิเคชั่นให้เราดาวน์โหลดและสร้างร้านค้าออนไลน์ได้ฟรีผ่านโทรศัพท์มือถือได้เลย ไม่ต้องเปิดคอมให้ยุ่งยาก และที่เจ๋งยิ่งกว่าคือ บางแอพผูกกับระบบหลังบ้านที่รองรับการทำอีคอมเมิร์ซมาในตัว อย่าง Zaapi ในตัวอย่างข้างต้นก็มีฟีเจอร์ขายของออนไลน์ครบ เช่น การเพิ่มสินค้า, รายงานยอดขาย, ระบบสต๊อกสินค้าออนไลน์ และระบบสมาชิก เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้การขายออนไลน์ง่ายขึ้นหลายเท่าตัว
รู้จักขั้นตอนการสร้างเว็บฟรี Google เทคนิคโปรโมทร้านค้าออนไลน์กันไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาลงมือทำ อยู่ที่คุณแล้วว่าจะเริ่มจากสร้างเว็บด้วย Google Sites หรือจะสร้างจากเว็บไซต์สำเร็จรูปอื่น ๆ ที่ทำได้ง่ายเหมือนกันแต่มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์มากกว่า
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub