การตั้งชื่อร้าน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของร้าน จะเรียกได้ว่ายากที่สุดในการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อคุณตั้งชื่อร้านได้ดี ร้านของคุณก็จะเป็นที่จดจำในกลุ่มลูกค้า เมื่อลูกค้าอยากซื้อของก็จะนึกถึงร้านคุณเป็นร้านแรก ๆ ดังนั้นทั้งธุรกิจน้อย-ใหญ่จึงต้องเลือกชื่อที่ดีและเหมาะกับคอนเซ็ปต์ร้านมากที่สุด และนี่ก็คือเทคนิคการตั้งชื่อร้านที่จะช่วยให้ขายดี แถมเป็นที่จดจำในหมู่ลูกค้า!
Zaapi มาพร้อมโปรแกรมรวมแชท ทดลองใช้ฟรี!
1. มีแรงบันดาลใจ
เริ่มจากหาแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อร้านเสียก่อน อาจจะไปเที่ยวทะเล ร้านกาแฟ คาเฟ่ หรือหาอะไร ๆ อร่อยกินก็ได้ จากนั้นก็ดูสินค้า ที่มาของร้าน และดูว่าคุณอยากเล่าเรื่องราวของร้านยังไง แล้วค่อยมองหาไอเดียชื่อร้าน ซึ่งสามารถตั้งได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
อย่างเช่น Lookbook ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์เสื้อผ้าไทยที่บ่งบอกถึงความเป็นมาและแรงบันดาลใจของแบรนด์ผ่านชื่อได้เป็นอย่างดี ปล่อยคอลเล็กชั่นใหม่ทั้งที ลูกค้าสาว ๆ ต้องแย่งกันกดรัว ๆ
2. ชื่อร้านต้องแตกต่าง
ก่อนที่จะเลือกชื่อร้าน คุณควรศึกษาคู่แข่งและดูว่ามีชื่ออะไรบ้าง จะได้รู้แนวทางการตั้งชื่อร้านเก๋ ๆ และแตกต่างจากร้านอื่น ๆ เพราะแม้คุณจะขายสินค้าคล้ายกัน แต่ถ้าชื่อร้านแตกต่างก็จะช่วยให้ร้านโดดเด่นจากคู่แข่ง อย่างไรก็ตามชื่อร้านที่แตกต่างของคุณจำเป็นต้องสะท้อนจุดขายของธุรกิจด้วย คือ ลูกค้าอ่านแล้วต้องรู้ว่าร้านขายสินค้าอะไรและมีความพิเศษยังไง
เช่น ถ้าขายเสื้อผ้า คู่แข่งหลายคนก็อาจจะมีคำยอดนิยมในชื่อแบรนด์ เช่น “Closet” และ “Wardrobe” ดังนั้นลองหาชื่อใหม่ ๆ ที่ลูกค้าฟังแล้วต้องสะดุดหูและจำได้ทันที อย่างแบรนด์และร้านที่ดัง ๆ ก็มีชื่อที่แตกต่างและจำง่ายเช่นกัน เช่น ZARA, Cotton On และ H&M เป็นต้น
3. สั้นกระชับ
หลักการในการตั้งชื่อร้านที่ทุกคนต้องตระหนักเลยก็คือ ชื่อร้านต้องสั้นกระชับและง่าย คือง่ายต่อการจดจำ ง่ายต่อการเขียน และง่ายต่อการออกเสียง ข้อนี้อาจจะฟังดูท้าทายสักหน่อย เพราะทุกวันนี้มีร้านใหม่ ๆ เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด เพราะฉะนั้นคุณจึงจำเป็นต้องมีความสร้างสรรค์ในการเลือกชื่อด้วย ชื่อร้านจึงจะโดนใจและติดปากลูกค้า โดยทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการคิดชื่อร้านให้สั้นกระชับก็คือ
- ผสมคำ หาคำสื่อความหมาย หรือคำที่มีเสียงคล้องจองกันมาตั้งเป็นชื่อร้าน
- คิดคำใหม่ เพิ่มเติมจากข้อที่แล้ว ชื่อร้านต้องเป็นชื่อที่แตกต่าง ถ้าจะให้ดีต้องเป็นคำใหม่ โดยสามารถสร้างคำใหม่ขึ้นมาหรือแปลงจากคำเดิม เช่น แบรนด์เสื้อผ้าไทยดัง ๆ ที่เราคุ้นหูกันดีก็มีการสร้างคำใหม่ในชื่อแบรนด์ อาทิ เมาดอกไม้, Sew Am I และ With.it
- มีความหมายเชิงครอบครัว ไม่ควรมองข้ามคำที่มีความหมายเชิงครอบครัวหรือคำที่มีความหมายส่วนตัว โดยหลักการนี้เป็นที่นิยมมาก ๆ ในไทยโดยเฉพาะร้านอาหาร เช่น ส้มตำเจ้ไก่, อาม่าซุปเปอร์ตีนไก่ และร้านลุงเป๋ลาบเป็ด เป็นต้น
Zaapi มาพร้อมโปรแกรมรวมแชท และระบบบริหารหลังร้าน ทดลองใช้ฟรี!
4. ตั้งจากจุดเด่นของสินค้า
คุณสามารถตั้งชื่อร้านดี ๆ ได้จากจุดเด่นของสินค้าที่ขายได้ด้วย และวิธีนี้ก็จะช่วยให้ลูกค้าจำภาพร้านของคุณได้ง่ายกว่าด้วย เพราะหลักการนี้จะช่วยให้ลูกค้าจำได้ครบทั้งสินค้าเด่นของร้าน สไตล์ และสินค้าหลักของร้าน และหากนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อร้านค้าออนไลน์ ก็มีโอกาสที่ร้านของคุณจะติดอันดับบนหน้าแรกของ Google ได้ด้วย
ตัวอย่างชื่อร้านและแบรนด์ที่ตั้งจากจุดเด่นของสินค้า
- Mc Jeans
- ร้านลุง ก๋วยเตี๋ยวเรือ
- ข้าวมันไก่เจ๊อ้วน
- ร้านก๋วยเตี๋ยวท่านอ๋อง
จุดเด่นของสินค้าถือเป็นคีย์เวิร์ดที่จะช่วยให้ลูกค้าค้นเจอร้านค้าของคุณในโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นถ้ามีไอเดียแล้วว่าจะขายอะไร ก็ลองเอาจุดเด่นมาตั้งเป็นชื่อร้านได้
5. เลือกคำที่มีความหมายดี
หลายคนเชื่อว่าการใช้คำที่มีความหมายดี ๆ หรือคำที่มีความหมายเชิงบวกมาตั้งชื่อร้านจะช่วยนำสิ่งดี ๆ เข้ามาในร้าน บ้างก็เชื่อว่าจะช่วยให้เงินไหลมาเทมาไม่ขาดสาย เพราะเมื่อมีชื่อดี ลูกค้าก็จะอยากเข้าร้านมาช้อปและเข้ามาใช้บริการ ถ้าสังเกตดี ๆ หลายชื่อแบรนด์ ที่จริงแล้วก็มีความหมายดี ๆ แฝงอยู่เช่นกัน เช่น แบรนด์ Vatanika เมื่อแปลแบบแยกคำ ก็จะมีความหมายว่า “ให้พูดอะไรก็เป็นเงินเป็นทอง"
ต้องบอกว่าสำหรับคนไทยแล้ว เรานิยมใช้ชื่อจริงมาตั้งชื่อแบรนด์ แต่ก็ต้องเป็นชื่อที่ฟังดูแล้วทันสมัยและมีความหมายดีหรือสื่อถึงโชคลาภเงินทองด้วย แต่ในส่วนของฝั่งตะวันตกจะนิยมใช้นามสกุลของคนก่อตั้งแบรนด์
6. ตั้งชื่อเสริมดวง
มีร้านจีนหลายร้านที่มักใช้คำภาษาจีนในการตั้งชื่อร้านเพื่อเสริมดวงค้าขายตามตำราจีน ซึ่งถ้าดูดี ๆ แล้วจะเห็นคำที่แปลว่า “สำเร็จ” เช่น “เซ่ง” หรือ “เส้ง” และคำที่แปลว่า “เจริญงอกงาม” เช่น “ฮวก” หรือ “ฮวด” ซึ่งไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่คนไทยเชื้อสายจีนก็ยังคงนิยมคำเหล่านี้มาตั้งชื่อร้านเสมอ แล้วก็มักจะเขียนบนป้ายร้านและที่อยู่ทางการของบริษัท หากอยากค้าขายเฮง ๆ บอกเลยว่าต้องมีคำเหล่านี้อยู่ในชื่อร้านด้วย
7. ตั้งชื่อร้านตามกระแส
ส่วนมากร้านที่ตั้งชื่อตามกระแสจะเป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะร้านที่มีเจ้าของเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรง เป็นการนำคำหรือวลียอดฮิตในโลกออนไลน์มาตั้งเป็นชื่อร้านเพื่อเรียกกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่ ๆ เข้าร้าน ซึ่งชื่อร้านที่น่าสนใจก็มีหลายชื่อด้วยกัน
ตัวอย่าง
- ตำแปลก แซ่บลืมผัว
- เต๋อตำยำระเบิด
- ร้านลักจุ่ม มุมตึก
- ร้านโคตรละยำตำบอน
บอกเลยว่าชื่อสไตล์นี้ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าอยากได้ชื่อร้านเก๋ ๆ ก็ต้องไม่ลืมที่จะหยิบเอาคำสุดฮิตบนโลกออนไลน์มาตั้งดู ถ้าชื่อโดนใจลูกค้าและคอนเทนต์เพจดี อาจจะมีลูกค้าต่อคิวรอข้ามปีเลยก็ได้
8. ใส่คำที่ทำให้ชื่อร้านค้าออนไลน์น่าฟังขึ้น
คำที่จะทำให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณน่าฟังขึ้น จะทำให้ร้านน่าเชื่อถือในสายตาลูกค้ามากขึ้น และคำที่ว่านี้ก็เป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เช่น shop, store, และ official ซึ่งหากไม่แน่ใจว่าจะตั้งชื่อไหนดี หรือว่ามีชื่อร้านแล้ว แต่ถ้าชื่อร้านสั้นเกินไปก็สามารถเพิ่มหนึ่งในคำที่ว่านี้เข้าไปได้ รับรองฟังแล้วดูดี จำง่าย และช่วยเพิ่มจุดขายได้ไม่มากก็น้อยแน่นอน
9. ตรวจสอบการจดทะเบียนเว็บไซต์
หลากคนมักจะได้ลิสต์ชื่อร้านที่ถูกใจ แต่อาจจะลืมเช็คว่าคู่แข่งอาจจะใช้ชื่อนั้นไปแล้ว ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบในโลกออนไลน์ด้วยว่ามีใครใช้ชื่อนี้หรือยัง โดยเฉพาะในโลกมาร์เก็ตเพลส จะได้ไม่มีปัญหาชื่อซ้ำหับคู่แข่ง ช่วยให้จดทะเบียนเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่น แล้วก็ง่ายต่อการบริการจัดการในกรณีที่ต้องการมีเว็บไซต์ออนไลน์ฟรีเป็นของตัวเอง
ทั้งนี้อย่าลืมว่าเมื่อตั้งชื่อเว็บไซต์จะต้องมีชื่อร้านและตรงกับทุกชื่อที่ใช้ในบัญชี Social Media และอื่น ๆ ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าสับสน
สรุป
ทั้งหมดนี้ 9 เทคนิคนี้จะช่วยให้คุณตั้งชื่อร้านได้ง่ายและติดหูลูกค้ามากขึ้น เมื่อมีชื่อร้านที่จำง่าย บวกกับสินค้าคุณภาพดีและการตลาดที่ตรงใจกลุ่มลูกค้า ร้านของคุณก็จะขายดิบขายดีและเฮง ๆ มากยิ่งขึ้นแล้ว หรือถ้าหากคุณมีเคล็ดลับการตั้งชื่อร้านแบบเก๋ ๆ ก็สามารถแปะไว้ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างบล็อก แล้วมาแชร์กันนะคะ :)
Zaapi ระบบรวมแชทสำหรับธุรกิจและร้านค้าออนไลน์ ครอบคลุมทั้งบนโซเชียลมีเดีย และอีคอมเมิร์ซตั้งแต่ Facebook Page, Instagram, LINE OA, Shopee และ Lazada รวมแชทจากทุกช่องทาง บริหารงานง่าย ครบจบบนแพลตฟอร์มเดียว
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub