พร้อมขายของออนไลน์ให้รวยและปังในปี 2023 นี้แล้วใช่ไหม? ถ้าอยากลุยออนไลน์แต่ไม่ชัวร์ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน ในบทความนี้เรามี 10 เช็คลิสต์ขายของออนไลน์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การเปิดเว็บไปจนถึงการทำการตลาดที่จะช่วยให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณเข้าใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
1. ตั้งชื่อโดเมน
โดเมน คือ ชื่อเว็บไซต์ที่คุณจำเป็นต้องใส่ใจในการตั้งชื่อ เพราะชื่อโดเมนเป็นสิ่งแรกที่ผู้คนพบเห็นและมีส่วนสำคัญในการสร้างแบรนด์ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือธุรกิจไหน ๆ คุณจะต้องมีความรอบคอบในการเลือก จึงจะสร้างความประทับใจและความน่าเชื่อถือให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ของคุณได้ และนี่คือสิ่งที่คุณต้องพิจารณาเมื่อเลือกชื่อโดเมนหรือชื่อเว็บไซต์ให้กับธุรกิจคุณ
- สั้น กระชับ ในการตั้งชื่อโดเมน ควรเลือกชื่อที่สั้นกระชับ ไม่ยาวจนเกินไป แนะนำให้มีประมาณ 2 - 3 คำ เพื่อให้จำง่าย เผื่อลูกค้าพบเห็นที่ไหนแล้วอยากค้นหาในกูเกิ้ล ก็จะพิมพ์ได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาจำชื่อ ซึ่งอาจจำไม่ได้เลย
- จำง่าย ชื่อโดเมนควรเป็นชื่อที่เรียบง่ายแต่โดดเด่น เพื่อให้จำง่าย ยิ่งชื่อจำง่ายและติดหูมากเท่าไหร่ เว็บขายของออนไลน์ของคุณก็จะน่าสนใจและน่าค้นหามากขึ้นเท่านั้น
- มีคีย์เวิร์ด สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้คนค้นพบร้านของคุณได้ง่ายขึ้น โดยสามารถใส่เป็นชื่อธุรกิจและสถานที่ตั้งไปได้เลย เพื่อเป็นการกำหนดเป้าหมายและเข้าถึงลูกค้าในพื้นที่ได้ เช่น หากขายสินค้าหลักเป็นเสื้อผ้ายีนส์และเน้นขายในเขตกรุงเทพหรือต้องการเน้นบอกแหล่งกำเนิดแบรนด์ ก็สามารถใช้คำว่า “ยีนส์” และ “กรุงเทพ” ในชื่อโดเมนได้เลย ตัวอย่างเช่น jeansmebkk.com เป็นต้น
- มีชื่อแบรนด์หรือชื่อร้าน สำคัญที่สุดเลยก็คือควรใช้ชื่อแบรนด์เป็นชื่อโดเมน ลูกค้าจะได้ไม่สับสนเมื่อช้อปออนไลน์ หากชื่อร้านกับเว็บคนละชื่อ มีโอกาสสูงมากที่ลูกค้าจะงงและไม่กล้าตัดสินใจซื้อทันทีแม้จะต้องการสินค้าแค่ไหนก็ตาม
2. เลือกธีมหรือเทมเพลตเว็บไซต์
เว็บอีคอมเมิร์ซของคุณจะให้ความรู้สึกสะอาดตาหรือว่าอารมณ์แบบไหนล้วนขึ้นอยู่กับธีมหรือเทมเพลต ซึ่งก็เหมือนกับหน้าร้านที่ต้องเลือกดีไซน์ดี ๆ สวย ๆ เพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้านและวางแผนผังร้านให้ช้อปได้ง่ายและที่ Zaapi ก็มีธีมหรือเทมเพลตไว้ตอบโจทย์หน้าร้านออนไลน์ของคุณอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะขายสินค้าออนไลน์ประเภทไหนก็เลือกธีมหรือเทมเพลตที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณได้ง่าย ๆ
นอกจากธีมหรือเทมเพลตที่มีให้เลือกมากมายแล้ว Zaapi ยังมีฟีเจอร์รองรับการขายของออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณค้าขายในยุคดิจิตอลได้ง่ายขึ้น เช่น ฟีเจอร์รวมแชทโซเชียลมีเดียและเก็บเงินในแชท, ระบบสมาชิก, เก็บข้อมูลลูกค้า, สต๊อก, รายงานยอดขาย และอีกมากมาย
3. เพิ่มสินค้าลงในเว็บ
หน้าสินค้าที่สวยและดึงดูดคือพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้คุณขายของได้ เพราะนี่คือพื้นที่ที่คุณสามารถใส่ชื่อและคำอธิบายสินค้าและขายได้อย่างเต็มที่ โดยชื่อสินค้าจะต้องมีคีย์เวิร์ดและคำอธิบายสินค้าก็จะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญที่จะขายตัวสินค้าได้อย่างดี ซึ่งสิ่งที่ควรเขียนไว้ในคำอธิบายสินค้าก็คือ
- สี สินค้ามีกี่สี สีอะไรบ้าง
- ไซส์ ขนาดของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้า สกินแคร์ ฯลฯ
- กลิ่น เหมาะกับสินค้าประเภทน้ำหอม โลชั่น
- รสชาติ เหมาะกับสินค้าประเภทของกิน
- ราคา ระบุให้ชัดเจนเพื่อความโปร่งใส
นอกจากนี้รูปภาพที่ใช้ก็ควรเป็นรูปที่ละเอียด คมชัด เพื่อให้ลูกค้าเห็นรายละเอียดสินค้าอย่างเต็มที่ หรือหากมีวิดีโอก็อัพโหลดลงไปในเว็บได้เลย รับรองช่วยสร้างจุดขายและเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้าของคุณได้เป็นอย่างดีแน่นอน
4. จัดประเภทสินค้า
เมื่อเพิ่มสินค้าลงหน้าร้านออนไลน์แล้ว คราวนี้ก็ต้องจัดประเภทสินค้าให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น เพราะสินค้าแต่ละประเภทจะดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น หากมีสินค้าออนไลน์หลากหลายประเภท ก็อาจจะจัดเป็นหมวดหมู่ง่าย ๆ ได้ดังนี้ :-
- สินค้าสำหรับเด็ก
- เสื้อผ้าแฟชั่น
- เครื่องประดับ
- รองเท้า
- กล้องถ่ายรูป
- ฯลฯ
นอกจากนี้ยังสามารถจัดหมวดหมู่สินค้าได้ตามคอลเลคชั่น เช่น สินค้าขายดี สินค้ามาใหม่ และสินค้าโปรโมชั่น เป็นต้น โดยแนวทางการจัดคอลเลคชั่นจะต้องแสดงให้โดดเด่นบนหน้าโฮมเพจเพื่อให้ลูกค้าสามารถมองเห็นและคลิกสั่งซื้อได้ง่าย แนะนำให้ทำเป็นแบนเนอร์ของแต่ละคอลเลคชั่นและระบุส่วนลดให้ชัดเจน แล้วยอดขายจะปังขึ้นแน่นอน
5. ดีไซน์หน้าโฮมเพจให้สวย
มีธีมและสินค้าครบแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาออกแบบหน้าโฮมเพจ แต่แนะนำว่าไม่ควรใส่ข้อมูลจนแน่นไปหมด เลย์เอ้าท์ (Layout) เว็บไซต์ควรสวย สะอาดตา ไม่ดูรก แล้วก็ต้องใช้งานง่าย ที่สำคัญต้องดึงดูดลูกค้าได้ตั้งแต่แรกเห็น ควรแสดงสินค้ายอดนิยมหรือสินค้าที่ต้องการเน้นไว้หน้าโฮมเพจเท่านั้น ไม่ควรแสดงสินค้าทุกรายการไว้ที่หน้าเดียวและมีหน้าหมวดหมู่สินค้าเพื่อให้ลูกค้าได้เยี่ยมชมสินค้าอื่น ๆ เป็นลำดับถัดไป
6. มีหน้าซัพพอร์ตอื่นๆ
นอกจากจะต้องมีหน้าโฮมเพจและหน้าสินค้าแล้ว เว็บร้านค้าออนไลน์ที่ดีจะต้องมีหน้าซัพพอร์ตอื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นกับลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมหน้าร้านออนไลน์ของคุณ เช่น
- หน้าเกี่ยวกับเรา เป็นหน้าเกี่ยวกับที่มาของร้านหรือแบรนด์เพื่อเล่าถึงเรื่องราว แรงบันดาลใจ จุดกำเนิดของแบรนด์ ฯลฯ
- หน้าคำถามที่พบบ่อย เป็นหน้าที่รวมทุกคำถามที่ลูกค้าถามกันเข้ามาบ่อย ๆ เช่น เขตการจัดส่งสินค้า วิธีจ่ายเงิน และอีกมากมาย
- หน้าการจัดส่ง เป็นหน้าที่รวมรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าทั้งหมด เช่น ค่าจัดส่งในแต่ละพื้นที่และข้อกำหนดในการจัดส่งฟรี เป็นต้น
- หน้าติดต่อเรา เป็นหน้าที่รวมช่องทางการติดต่อ เช่น ที่อยู่, เบอร์โทร, อีเมล, LINE, เฟสบุ๊ค และอินสตาแกรม เป็นต้น
7. ออกแบบโลโก้ร้าน
โลโก้คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าจดจำร้านของคุณได้ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เมื่อออกแบบโลโก้ร้าน
- จ้างมืออาชีพ หากไม่มีประสบการณ์หรือไม่สามารถออกแบบได้เองทั้งหมด ควรใช้โปรแกรมออกแบบโลโก้ร้าน จะได้ออกแบบเองได้ง่าย ๆ และคงความสวยงามไว้ได้ แต่ถ้าไม่ถนัดจริง ๆ และอยากให้โลโก้ร้านดูเป็นมืออาชีพ แนะนำให้จ้างกราฟิกดีไซเนอร์
- สะท้อนถึงตัวตนแบรนด์ อย่าลืมว่าโลโก้ไม่ใช่แค่รูปภาพเท่านั้น โลโก้ที่ดีจึงจำเป็นต้องสะท้อนถึงตัวตนของร้านและสินค้าที่ขายด้วย
8. วางแผนการสต๊อกสินค้า
ก่อนจะทำยอดขายแรกได้ คุณต้องมีสินค้าพร้อมขายก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเกิดเผยแพร่เว็บไซต์ร้านไปแล้ว แต่ไม่มีสินค้าขาย ลูกค้าที่เข้ามาเพื่อช้อปที่ร้านคุณก็จะผิดหวังตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้งาน ซึ่งนั่นอาจส่งผลให้ลูกค้าไม่กลับมาซื้อของออนไลน์ที่ร้านของคุณอีกเลยก็ได้ ดังนั้นคุณต้องวางแผนสต๊อกสินค้าแต่ละชิ้นให้ละเอียดรอบคอบดังนี้ :-
- สต๊อกวัตถุดิบหรือวัสดุ เป็นการเตรียมอุปกรณ์ เนื้อผ้า หรือของที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าไว้แต่เนิ่น ๆ
- สต๊อกตัวสินค้า นับสต๊อกสินค้าเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีสินค้าเพียงพอในการขาย และเพื่อประหยัดเวลาและแรงงานยิ่งขึ้น ควรเลือกใช้ตัวช่วยเช่นระบบนับสต๊อกสินค้าที่เชื่อมโดยตรงกับระบบเว็บขายออนไลน์ของคุณ เพื่อจะได้ติดตามทันทีเมื่อขายสินค้าไป แถมยังมีระบบหลังบ้านให้วิเคราะห์สินค้าขายดีเพื่อนำไปต่อยอดด้วย ซึ่งถ้ากำลังมองหาตัวช่วยแบบนี้ที่ Zaapi ก็มีฟีเจอร์นี้ให้คุณขายของออนไลน์และติดตามสต๊อกได้ฟรี!
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
9. ทำการตลาด
มีสินค้าและหน้าเว็บไซต์ของร้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาทำการตลาดเพื่อให้ร้านเป็นที่รู้จักแล้ว ซึ่งวิธีการทำการตลาดที่ดีและได้ผลจะต้องอาศัยหลายช่องทาง เช่น
- SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization เป็นการทำให้เว็บไซต์ติดหน้าอันดับของกูเกิ้ล ยิ่งติดอันดับแรก ๆ แล้ว ลูกค้าก็จะมีโอกาสคลิกและเพิ่มยอดขายให้ร้านได้
- Social Media ช่องทางออนไลน์นี้ไม่ได้มีดีแค่เป็นโลกโซเชียล แต่ยังเป็นช่องทางที่ช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหญ่ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม หรือ TikTok ก็ล้วนแต่มีฐานผู้ใช้งานขนาดใหญ่ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่คุณต้องทำคอนเทนต์เป็นประจำและทดสอบตลาดก่อนในช่วงแรก
- ปล่อยแคมเปญการตลาดอื่น ๆ เป็นได้ทั้งอีเมล SMS ยิงแอด หรือแม้กระทั่งป้ายโฆษณา ในข้อนี้ขึ้นอยู่กับเวลา แรงงาน และงบประมาณที่มี ยิ่งเป็นป้ายโฆษณาด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้งบเยอะ คุณจึงจำเป็นต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและอัตราส่วนของกำไรสุทธิกับค่าใช้จ่าย (ROI) ให้ดีก่อนลงมือ
10. เปิดรับฟีดแบ็ค
หมั่นสอบถามฟีดแบ็คและความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงทั้งในส่วนของหน้าร้านออนไลน์และตัวสินค้า เพราะลูกค้าคือกลุ่มผู้ใช้งานจริงที่จะให้ข้อมูลคุณได้ดีที่สุด โดยคุณสามารถส่งแบบสำรวจไปยังอีเมลลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าให้คะแนนการซื้อของออนไลน์กับทางร้านและมอบคะแนนหรือส่วนลดเป็นการตอบแทน หรืออาจจะสร้างกลุ่มเฟสบุ๊คเฉพาะสมาชิกของร้าน เพื่อให้ลูกค้าได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และร้านก็สามารถเรียนรู้ปัญหาต่าง ๆ ได้จากกลุ่มนั้นได้เลย
ถึงเวลาขายของออนไลน์ให้ปัง!
เช็คลิสต์ในการขายของออนไลน์ทั้ง 10 ข้อที่เรานำมาฝาก เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ร้านเริ่มต้นได้อย่างถูกต้องและทำการตลาดได้ถูกทาง ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อทำตามเช็คลิสต์ที่ว่านี้แล้ว ร้านของคุณจะน่าสนใจและเรียกยอดขายได้ง่ายขึ้น และเมื่อขายของออนไลน์ไปนาน ๆ คุณจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์และฟีดแบ็คจากลูกค้าควบคู่ไปเรื่อย ๆ แล้วคุณจะสามารถปรับปรุงสินค้าและบริการได้อย่างตรงจุด ซึ่งแน่นอนว่าตรงนี้คุณจะมัดใจลูกค้าและเพิ่มยอดขายให้ร้านขึ้นได้เรื่อย ๆ แน่นอน
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub