จะเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งที ไม่รู้เรื่องภาษีไม่ได้! หลายคนมักจะเข้าใจผิด ๆ ว่าขายของออนไลน์ไม่ต้องเสียภาษี และหลายคนก็อาจจะไม่รู้ว่าต้องยื่นภาษีหรือไม่ หรือว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เราเลยมีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับเรื่องการเสียภาษีสำหรับการขายของออนไลน์มาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกันเลย!
บอกเลยว่างานนี้ยิ่งเข้าใจเรื่องภาษีเร็ว ยิ่งส่งผลดีต่อการขายของออนไลน์ของคุณ!
ทำไมขายของออนไลน์ต้องเสียภาษี?
ต้องยอมรับว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมามีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นมาเยอะมาก หลายคนทำเป็นอาชีพเสริม แต่หลายคนก็หันมาเอาดีด้านนี้จนขายของออนไลน์เป็นอาชีพหลัก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีด้วย?
นั่นเพราะว่า “เงิน” หรือ “รายได้” จากการขายของออนไลน์ถือเป็น “เงินได้ประเภทที่ 8” ที่ต้องมีการ “ยื่นภาษี” และ “เสียภาษี” ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด เนื่องจากเป็นเงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ (หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7)
ดังนั้นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีเงินได้ประเภทที่ 8 จะต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 (8) โดยบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้าเป็นนิติบุคคลจะต้องยื่นภาษีเพื่อแสดงรายได้และรายจ่ายแก่สรรพากร จากนั้นจะรู้ว่าต้องเสียภาษีหรือจะได้รับการยกเว้นภาษี
เกณฑ์การเสียภาษีสำหรับการขายของออนไลน์
สำหรับเกณฑ์การเสียภาษีของการขายออนไลน์นั้น เราจะคำนวณเป็น 2 แบบ ได้แก่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับพ่อค้าแม่ค้าทั่วไปที่ไม่ได้จดเป็นบริษัท
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ต้องมีหน้าที่ยื่นภาษีและเสียภาษีด้วยกันทั้งนั้น
รายได้จากการขายของออนไลน์เท่าไหร่ ต้องยื่นภาษี (กรณีบุคคลธรรมดา)
หลายคนอาจจะยังเก้ ๆ กัง ๆ และไม่รู้วิธียื่นภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งหากเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั่วไปที่ไม่ได้จดเป็นบริษัทมีเกณฑ์ดังนี้ :-
- บุคคลธรรดา หมายถึงคนมีรายได้ทั่วไป ต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี
- กรณีโสด เมื่อขายของออนไลน์ต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40 (8) ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 94 เมื่อมีได้รายเกิน 60,000 บาท
- กรณีสมรส มื่อขายของออนไลน์ต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40 (8) ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 94 เมื่อมีได้รายเกิน 120,000 บาท
รายได้จากการขายของออนไลน์เท่าไหร่ ต้องยื่นภาษี (กรณีนิติบุคคล)
สำหรับนิติบุคคลที่จดเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ขายออนไลน์ ก็ถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา ส่วนเกณฑ์ในการยื่นและเสียภาษี แต่จะต้องเสียภาษีหรือได้รับการยกเว้นภาษีนั้นขึ้นอยู่กับ เงินได้สุทธิ หรือ กำไรสุทธิ หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนออกไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วยิ่งมีกำไรสุทธิมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องเสียภาษีมากเท่านั้น โดยปกติแล้วจะมีอัตราการเสียภาษีดังนี้ :-
- 1 - 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
- 150,001 - 300,000 บาท จ่ายภาษี 5%
- 300,001 - 500,000 บาท จ่ายภาษี 10%
- 500,001 - 750,000 บาท จ่ายภาษี 15%
- 750,001 - 1,000,000 บาท จ่ายภาษี 20%
- 1,000,001 - 2,000,000 บาท จ่ายภาษี 25%
- 2,000,001 - 5,000,000 บาท จ่ายภาษี 30%
- 5,000,001 บาทขึ้นไป จ่ายภาษี 35%
ทั้งนี้หากสงสัยว่ามีการคำนวณภาษีเงินได้สุทธิยังไงบ้าง ลองทำตามสูตรด้านล่างนี้ได้เลย
(เงินได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย) - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
แต่ถ้าอยากรู้ว่าต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ต้องคำนวณตามสูตรนี้
(รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
นอกจากสูตรคำนวณที่ว่านี้แล้ว ยังมีโปรแกรมคำนวณภาษี ฟรี ที่ช่วยให้ชีวิตพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เช่นคุณง่ายขึ้นหลายเท่าตัว ยังไงลองดูแต่ละโปรแกรมแล้วเลือกใช้ตามความเหมาะสมของธุรกิจคุณได้เลย
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับยื่นภาษีมีกี่แบบ
สำหรับการยื่นภาษีการขายของออนไลน์นั้น พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายในการเสียภาษี 2 แบบคือ
- หักค่าใช้จ่ายตามจริง
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนในการขายสินค้าสูงเหมาะกับการหักค่าใช้จ่ายตามจริงมากที่สุด เพราะพ่อค้าแม่ค้าที่มีต้นทุนสูงจะหักค่าใช้จ่ายได้สูงตามไปด้วย เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว เงินที่นำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงไปด้วย แต่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องมีบัญชีรายรับ-รายจ่ายและหลักฐานต่าง ๆ อย่างครบถ้วนเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและการตรวจสอบต่าง ๆ
- หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีกำไรมากเหมาะกับวิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% มากเป็นที่สุด ซึ่งตามจริงแล้วกำไรที่ทำได้อาจจะมากกว่าเงินที่ต้องจ่ายภาษีก็เป็นได้ ข้อดีของวิธีนี้คือ ไม่ต้องแสดงหลักฐานใด ๆ ซึ่งทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เช่นคุณได้ประโยชน์ในส่วนต่างของต้นทุนกับค่าใช้จ่ายจริงนั่นเอง
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
มีค่าใช้จ่ายไหนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีขายของออนไลน์ได้บ้าง
เราสามารถแบ่งกลุ่มค่าลดหย่อนภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เป็น 5 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว, คู่สมรส, ลูก, พ่อแม่, ผู้พิการ และค่าฝากครรภ์และทำคลอด
- กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน เช่น ประกันสังคม, เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
- กลุ่มลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน
- กลุ่มเงินบริจาค เช่น บริจาคทั่วไป, บริจาคเพื่อการศึกษา, บริจาคเพื่อโรงพยาบาลรัฐ ฯลฯ
- กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เช่น ช้อปดีมีคืน
ปกติแล้วขายของออนไลน์ ต้องยื่นจ่ายภาษีเมื่อไหร่
โดยปกติแล้ว พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะต้องยื่นภาษีและจ่ายตามรอบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งจะยื่น 2 รอบตาม ภ.ง.ด. 94 และ ภ.ง.ด. 90 คือ
รอบที่ 1 ยื่นภาษีครึ่งปี
เป็นการยื่นภาษีเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. มาแสดงและยื่นภาษีตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 94 โดยจะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 ก.ค. - 30 ก.ย. ของปีเดียวกัน และข้อดีของการยื่นภาษีครึ่งปีก็คือ ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์และผู้มีรายได้ให้ไม่ต้องจ่ายภาษีหนักในครั้งเดียว ถือเป็นทางเลือกที่ดีมาก ๆ เลยทีเดียว
รอบที่ 1 ยื่นภาษีปลายปี
การยื่นภาษีปลายปี เป็นการยื่นภาษีของเงินได้ทั้งปีตามแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 โดยจะทำกันภายในวันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. ของปีถัดไป ข้อเสียคือต้องเสียภาษีหนักในครั้งเดียว แต่ข้อดีก็คือสามารถนำเงินได้บางส่วนไปหมุนเวียนร้านค้าออนไลน์หรือธุรกิจก่อนได้
ข้อควรรู้: หากคุณมีรายได้จากการขายของออนไลน์เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และยื่น VAT ภายในทุก ๆ วันที่ 15 ของเดือนถัดไป แล้วก็ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการด้วย แต่ถ้ามีรายได้จากการขายของออนไลน์น้อยกว่า 1.8 ล้านบาท ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องยื่นภาษี VAT
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวยังไงให้ก้าวทันภาษีแต่ละปี
หากต้องการเตรียมตัวเสียภาษีขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไรอย่างราบรื่น นี่คือเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้คุณเตรียมตัวยื่นและจ่ายภาษีได้ง่ายขึ้น
- บันทึกข้อมูลลูกค้า การใช้จ่าย การลงทุน และการรับเงิน
- จดและรวมหลักฐานทุกอย่าง รวมถึงทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
- ห้ามทิ้งหลักฐานใด ๆ เกี่ยวกับการขายของออนไลน์หรือธุรกิจการค้าของคุณ กรณีที่กรมสรรพากรต้องการใบเสร็จหรือหลักฐานต่าง ๆ จะได้ไม่ยุ่งยากและสามารถแสดงหลักฐานได้เลย ดังนั้นควรเก็บไว้ให้หมดทั้งการโอนจ่าย-รับเงิน การลงทุน และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- หมั่นหาความรู้เรื่องภาษีเพื่อจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้และไม่สับสนเวลาที่จะต้องยื่นจ่ายภาษีในแต่ละปี โดยอาจจะสอบถามผู้รู้หรือติดตามเพจเฟสบุ๊คที่สอนเรื่องภาษีก็ได้
- อัพเดตข่าวสารเป็นประจำ โดยเฉพาะข่าวสารการเงินและภาษี เพราะในแต่ละปีอาจจะมีโครงการรัฐบาลหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นก็ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เสียเงินไปกับภาษีแบบมากเกินจำเป็น ขอแนะนำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกคนติดตามข่าวสารเรื่องการเงินและภาษีอยู่เสมอ
สรุป
และทั้งหมดนี้ก็คือการขายของออนไลน์และการเสียภาษีที่พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่จำเป็นต้องรู้ไว้ เพื่อจะได้ดำเนินการต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามหลักการและป้องกันความเสียหายของธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่าลืมว่าหากจ่ายภาษีไม่ตรงตามกำหนด คุณจะต้องเสียค่าปรับและอาจเสียโอกาสทางธุรกิจได้ เมื่อรู้หลักการยื่นและเสียภาษีต่าง ๆ แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลานำไปใช้จริง ดังนั้นถ้าคุณเข้าใจเรื่องเสียภาษีและพร้อมขายออนไลน์แล้ว
ใครสนใจอยากเปิดแฟรนไชส์ เรามีแฟรนไชส์น่าสนใจมาแนะนำเยอะมาก และยังมีธุรกิจที่น่าสนใจ อ่านจบแล้วได้ไอเดียแน่นอน
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub