ได้ยินคำว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” กันบ่อย ๆ ใช่ไหม? วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับเจ้าภาษีประเภทนี้กันให้มากขึ้น เพราะยังไงเราก็ต้องได้ยินและเกี่ยวข้องอยู่แล้ว ไม่ว่าจะในฐานะพ่อค้าแม่ค้าหรือว่าลูกค้าก็ตาม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือเรารู้จักกันในชื่อของ VAT คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือบริการที่ผลิตในประเทศและรวมถึงสินค้าหรือบริการที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการจะเก็บภาษีจากสินค้าหรือบริการอยู่ที่ 7%
ใครมีหน้าที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มบ้าง?
ผู้ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ประกอบการ ดังนั้นพ่อค้าแม่ค้าจึงถือเป็นกลุ่มที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน แต่ก็มีข้อกำหนดดังนี้ :-
- ผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- ผู้ประกอบกิจการที่ขายสินค้าหรือบริการ ที่มีแผนงานและมีการดำเนินการที่อยู่ในข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร
- ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศ และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในไทย โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นรับผิดชอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน
ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีไหม? หาคำตอบได้ที่นี่
ระยะเวลาในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอย่างไร?
สำหรับผู้ที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ทางกรมสรรพากรกำหนดดังนี้ :-
- สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน
- สำหรับผู้ประกอบการที่มีกิจการก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 6 เดือนก่อนเริ่มกิจการ ยกเว้นกรณีมีสัญญาหรือหลักฐานในการดำเนินการก่อสร้างในระยะเวลาที่เหมาะสม
ทั้งนี้กิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT จะต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และหากจดทะเบียนยื่นภาษีออนไลน์จะมีระยะเวลายื่นนานกว่าการยื่นทั่วไป 8 วัน
จดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ไหนบ้าง?
ตามหลักการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 สามารถยื่นจดทะเบียนได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้ :-
- หากมีสถานที่ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ สามารถยื่นได้ที่กรมสรรพากรตามเขตของสถานประกอบการ
- หากสถานที่ประกอบการนอกเขตกรุงเทพฯ สามารถจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหรืออำเภอที่ตั้งของสถานที่ประกอบการ
- หากมีสถานที่ประกอบการหลายแห่ง สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ถ้าไม่มีสำนักงานใหญ่ สามารถเลือกที่ใดที่หนึ่งของสถานประกอบการเป็นสำนักงานใหญ่ได้
- หากในเขตสถานประกอบการ ไม่มีกรมสรรพากรตั้งอยู่ ให้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่เคยควบคุมท้องที่นั้น
- หากเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือสามารถยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/ อำเภอ) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง?
เอกสารที่ผู้ประกอบการต้องยื่นเมื่อเตรียมตัวไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีเพียง 5 อย่างเท่านั้น ได้แก่
- แบบคำขอใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
- ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
- ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
- หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทน ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและ ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
ใครไม่จำเป็นต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม?
สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่จำเป็นต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือได้รับการยกเว้นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมี 5 กลุ่มดังนี้ :-
- ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
- ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
- ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในไทย
- ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในไทยเป็นครั้งคราว แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536
- ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub